First hotel Project

Home | Our Project | Testimonial | First hotel Project
Font size: Decrease font Enlarge font
First hotel Project

HIGHT EFFICIENCY CHILLER SYSTEM

ในปัจจุบันมีการผลิตเครื่องทำน้ำเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงเพื้อใช้งานในระบบ ปรับอากาศ โดยสามารถลดำลังไฟฟ้า ที่ใช้ในการทำความเย็น 1 ตันลงมาจากค่าเฉลี่ยที่ .070-0.80 กิโลวัตต์ เหลือ 0.55-0.60 กิโลวัตต์ ประกอบกับการใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องอย่างถูกต้องจะทำให้เครื่องทำน้ำ เย็นมีสมรรถนะการทำงานที่ดีตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งเกิดผลประหยัดพลังงานเป็นอย่างมากในระบบปรับอากาศถึงแม้ว่าเงินลงทุน เบื้องต้นจะสูง แต่ผลตอบแทนในระยะยาวก็คุ้มค่า

เครื่องทำน้ำเย็นจัดได้ว่าเป็นอุปรกร์ที่ใช้พลังงานมากที่สุดในระบบปรับ อากาศ ดังนั้นวิธีการประหยัดพลังงานที่สำคัญวิธีหนึ่งคือการเลือกใช้เครื่องทำน้ำ เย็นประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Chiller) ซึ่งมีหลักการทำงานที่ไม่แตกต่างจากเครื่องทำน้ำเย็นทั่วไป แต่ได้รับการออกแบบในรายละเอียดของอุปกรณ์โดยใช้วัสดุที่มีคุณภาพและลดการ สูญเสียจากการใช้งาน โดยทั่วไปมีรายละเอียดดังนี้

  • เพิ่มประสิทธิภาพช่วงที่มีโหลดหน้อย (Partial Load) ด้วยการใช้ระบบการควบคุมการทำงานแบบไมโครโปรเซสเซอร์เพื่อควบคุมการทำงานแข องเซ็นเซอร์ต่าง ๆ หรือด้วยการใช้อิเล็กทรอนิกส์เอ็กซ์แพนชันวาล์ว (Electronic Expansion Valve) หรือการติดตั้งชุดควบคุมการเปิดปิดการฉีดสารทำความเย็นแบบปรับได้ (Variable Orifice)
  • เลือกใช้คอมเพรสเซอร์แบบเฮอร์เมติกซึ่งเป็นแบบที่ไม่มีการรั่วของสารทำ ความเย็น ดังนั้นที่รอยต่อต่าง ๆ จึงไม่จำเป็นต้องมีประเก็นหรือการเชื่อมต่อ ทำให้มีน้ำยาในระบบเต็มตลอดเวลา จึงส่งผลดีต่อประสิทธิภาพของเครื่อง หรือการเลือกใช้คอมเพรสเซอร์แบบ Motor Open Type ซึ่งระบายควารมร้อนออกจากคอมเพรสเซอร์ด้วยอากาศโดยไม่ต้องใช้สารทำความเย็น ในการระบายความร้อน
  • ออกแบบคอมเพรสเซอร์ให้ไม่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นเพื่อลดการปนเปื้อนของ น้ำมันหล่อลื่นในสารทำความเย็น ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องทำน้ำเย็นลดลง

เครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูงได้รับการออกแบบโดยมุ่งเน้นให้มีค่าสมรรถนะการทำความเย็นที่ดีขึ้น กล่าวคือ มุ่งเน้นให้ใช้กำลังไฟฟ้าน้อยที่สุดเพื่อผลิตความเย็นจ่ายเข้าสู่ระบบ ส่วนประกอบหลักของการทำงานในระบบปรับอากาศที่ทำงานร่วมกับเครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูงยังคงเดิม คือ มีวงจรน้ำเย็นคู่กับเครื่องส่งลมเย็น (Air Handling Unit : AHU) หรือเครื่องเป่าลมเย็น (Fan Coil Unit : FCU) และวงจรน้ำหล่อเย็น (หรืออากาศระบายความร้อน) คู่กับหอระบายความร้อน (Cooling Tower) เป็นตัวระบายความร้อยสู่ภายนอก

มูลเหตุในการเปลี่ยนเครื่อง Chiller

เครื่องผ่านการใช้งานมานานเกิน 10 ปี ประสิทธิภาพต่ำใช้พลังงานไฟฟ้าสูง ค่าบำรุงรักษาสูง

รัฐบาลส่งเสริมการใช้ Chiller ประสิทธิภาพสูง

  • กู้ยืมเงินลงทุนจากกองทุน ESCO FUND
  • รับเงินสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน
  • ลดหย่อนภาษีจากยอดการลงทุนโครงการ

การตรวจการใช้พลังงานของ Chiller Plant

ข้อมูล
250 TON
หน่วย
กำลังไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์เฉลี่ย
156 kW
ภาระการทำความเย็นเฉลี่ย(80%)
200 Ton/hr
ค่าสมรรถนะการทำความเย็น(CHP)
0.8 kW/Ton
ชั่วโมงการทำงานในปีฐาน
8,760 hr/year
ภาระการทำความเย็นในปีฐาน
1,752,000 Ton/hr/year
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้
1,401,600 kWh/year
ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้
4,414,682 บาท/ปี

 

ข้อมูล
250 TON(เก่า)
250 TON(ใหม่)
หน่วย
กำลังไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์เฉลี่ย
156 112
kW
ภาระการทำความเย็นเฉลี่ย(80%)
200 200
Ton/hr
ค่าสมรรถนะการทำความเย็น(CHP)
0.8 0.56
kW/Ton
ชั่วโมงการทำงานในปีฐาน
8,760 8,760 hr/year
ภาระการทำความเย็นในปีฐาน
1,752,000 1,752,000
Ton/hr/year
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้
1,401,600 981,120
kWh/year
ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้
4,414,682 3,909,328
บาท/ปี

ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 1,324,512 บาท